มาอีกรุ่นรถเจมส์บอนด์ “DBX707” แรงกระชากใจ 0-100 กม./ชม. 3.3 วิ

แอสตัน มาร์ติน แบงคอก เปิดตัว “DBX707” ที่สุดแห่งซูเปอร์เอสยูวี ระดับอัลตราลักเซอรี่ 4.0 ลิตร วี 8 สูบ 707 แรงม้า 0-100 กม./ชม. 3.3 วินาที

ออกแบบ ท็อปสปีด 310 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ราคาเบาะ ๆ 24.9 ล้านบาท ซูเปอร์คาร์ของเจมส์บอนด์คันต่อไปแม้ว่ารถเจมส์บอนด์ภาคล่าสุดจะไม่ใช่ Aston Martin แต่เชื่อว่าเรื่องต่อไปไม่พลาดแน่ แอสตัน มาร์ติน เป็นรถยนต์สัญชาติอังกฤษ กำเนิดช่วงปี ค.ศ. 1913 ปีนี้นับว่าครบรอบ 110 ปี ก่อตั้งโดย ไลโอเนล มาร์ติน กับ โรเบิร์ต แบมฟอร์ต ซึ่งทั้งคู่สร้างรถแข่งร่วมกัน เพื่อไปแข่งในรายการ แอสตัน คลินตัน ฮิลล์ไคล์ม (Aston Clinton Hillclimb) และคว้าแชมป์ได้สำเร็จเร็วสุด แรงจัด และทรงตัวเป็นเลิศ คือ 3 คุณสมบัติเด่นของ แอสตัน มาร์ติน ดีบีเอ็กซ์ 707 ที่ยากจะมีใครลอกเลียนแบบ

ออกแบบ แอสตัน มาร์ติน

ทั้งด้านพละกำลังและความแม่นยำในการบังคับควบคุมอันเหนือชั้น สร้างประสบการณ์ขับอันน่าประทับใจนายฉัตรชัย แก้วผ่องศรี ผู้จัดการทั่วไป แอสตัน มาร์ติน แบงคอก กล่าวว่า “ดีบีเอ็กซ์ 707 เป็นเอสยูวีที่ไม่มีใครเหมือน ยกระดับ แอสตัน มาร์ติน สู่จุดสูงสุดในเซกเมนต์ ผ่านการผสมผสานสมรรถนะอันจัดจ้าน การขับเคลื่อนระดับเทพ รูปลักษณ์สะดุดตา และความหรูหราแบบเต็มพิกัด นอกจากนั้น การออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะและศักยภาพเหนือชั้น ส่งผลให้ ดีบีเอ็กซ์ 707 คือที่สุดแห่งเอสยูวี ในทุกรายละเอียด”

อ่านข่าวเพิ่มเติม : ไอเดียสร้างสรรค์นักออกแบบรุ่นใหม่ ตอบโจทย์การใช้ชีวิตแนวตั้งของชาวกรุง

ไอเดียสร้างสรรค์นักออกแบบรุ่นใหม่ ตอบโจทย์การใช้ชีวิตแนวตั้งของชาวกรุง

ก็เพราะไลฟ์สไตล์ ของคนรุ่นใหม่ชื่นชอบการใช้ชีวิตแนวตั้งบนคอนโดมิเนียม ซึ่งสะดวกสบาย และตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิตอันเร่งรีบได้เป็นอย่างดี

ผลงานของ 6 ทีมผู้ชนะเลิศจากเวทีประกวด Hive Your Life Design Contest ของแสนสิริ ซึ่งนำมาตกแต่งห้องตัวอย่างคอนโดมิเนียมบนพื้นที่จริง ในโครงการ Hive Taksin (ไฮฟ์ ตากสิน) จึงอัดแน่นไปด้วยไอเดียสร้างสรรค์ที่สดใหม่ ซึ่งสะท้อนถึงแง่มุมการใช้ชีวิตของคนยุคดิจิตอลได้อย่างน่า ทึ่ง

ไม่ว่าจะเป็นผลงาน Unlock Super Block ของ “ศุภศิษฐ์ ม่วงศิริกุล” และ “กฤตพงษ์ มาพูนธนะ” นักศึกษาชั้นปี 4 จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ดังเรื่อง Across The Universe ซึ่งตัวเอกของเรื่องเก็บตัวอยู่ในห้องเล็กๆ ที่ค่อยๆเปลี่ยนเป็นท้องฟ้า เป็นการสร้างภาพลวงตาด้วยการใช้กระจกสะท้อนท้องฟ้า เพื่อให้ห้องดูกว้าง รู้สึกเป็นอิสระ และมีมิติมากขึ้น

ข่าวออกแบบ

อีก หนึ่งผลงานล้ำจินตนาการ ที่น่าจะถูกใจหนุ่มสาวเทรนดี้ ยังรวมถึงผลงาน Cave for Urban Dweller ของ “สุรัชนา ภควลีธร” และ “แพร สฤษดิ-ชัยนันทา” นักศึกษาจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีลาดกระบัง ซึ่งนำรูปแบบของถ้ำที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย เป็นส่วนตัว และมีความลึกลับ มาถ่ายทอดเป็นห้องคอนโดฯสุดฮิป ดึงดูดสายตาด้วยโคมไฟเลียนแบบหิน งอกหินย้อย

ขณะที่ “นรินทร์พงษ์ ณ เชียงใหม่” อินทีเรียดีไซน์จาก ERIX-DESIGN CONCEPTS เจ้าของผลงาน Under-ground Hive ถ่ายทอดแง่มุมชีวิตสนุกสนานของชาวกรุง ผ่านลวดลายกราฟฟิตี้อาร์ตแนวอันเดอร์กราวนด์ จุดเด่นอยู่ที่ความเป็นตัวของตัวเอง กล้าใช้สีสันและศิลปะแรงๆ โดยมีผนังลูกกรงเหล็กสีดำเป็นไฮไลต์

สำหรับผลงาน Ready to fly inside ของ “ทินพัทธ์ เลิศโสภา” อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หยิบอินสไปเรชั่นจากบรรยากาศริมน้ำอันงดงามยามเช้า มาแตกไอเดียเป็น 3 ส่วน ตกแต่งห้องรับแขกด้วยฟีลลิ่งของเรือพายริมน้ำ และนำรังนกกระจาบมาถ่ายทอดเป็นห้องรับประทานอาหาร กับห้องนอน ที่มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร

อ่านข่าวเพิ่มเติม : ไลฟ์สไตล์เฟสติวัลเต็มรูปแบบใหม่จาก SIWILAI

ไลฟ์สไตล์เฟสติวัลเต็มรูปแบบใหม่จาก SIWILAI

จุฬาลักษณ์ ปิยะสมบัติ และพัชทรี ภักดีบุตร 2 ดีไซเนอร์สาวไม่ยอมพลาดงานนี้

ส่งท้ายปีด้วยงานใหญ่ “SIWILAI presents Le Cabinet De Curiosites of Thomas Erber at Central Embassy” ไลฟ์สไตล์เฟสติวัลเต็มรูปแบบครั้งแรกในไทย จัดโดย เซ็นทรัลเอ็มบาสซี ร่วมกับ ศิวิไล ภายใต้การนำของ “บรม พิจารณ์จิตร” งานนี้ได้ตัว “โทมัส เออร์เบอร์” ภัณฑารักษ์ระดับโลกชาวฝรั่งเศส ผู้ทรงอิทธิพลในโลกศิลปะ และแฟชั่น เป็นโปรเจกต์คอแลบบอเรชั่น ลงทุนอิมพอร์ตผลงานลิมิเต็ดเอดิชั่น ที่ออกแบบโดย ดีไซเนอร์และศิลปินชั้นนำกว่า 20 ประเทศ รวมกว่า 70 ชิ้น มาจัดแสดงที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี

ไลฟ์สไตล์เฟสติวัล

โทมัส เออร์เบอร์ คิวเรเตอร์คนดัง บอกเล่าว่า งานนี้เราได้การตอบรับจากนักออกแบบหลากหลายวงการทั้งงานดีไซน์ แฟชั่น เครื่องประดับชั้นสูง ศิลปะ ภาพถ่าย เพื่อสร้างสรรค์ผลงานลิมิเต็ดเอดิชั่นสำหรับเมืองไทยเฉพาะ โดยนับเป็นงานใหญ่ที่สุดเท่าที่เขาเคยจัดมา ทั้งในปารีส, ลอนดอน, เบอร์ลิน และนิวยอร์ก ใช้เวลาเตรียมงานกว่า 1 ปี ภายในงานประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ “นิทรรศการ” คัดสรรผลงานจากทุกมุมโลกมากกว่า 70 ชิ้นมาจัดแสดง ส่วนบริเวณอินดอร์การ์เด้น ได้เนรมิตเป็นโรงหนังขนาดย่อม ดีไซน์เหมือนอุโมงค์มืดให้เข้าไปชมหนังอาร์ต และสุดท้ายโซน The Cabinet ที่ร้านศิวิไล ชั้น 5 ออกแบบเหมือนเป็นห้องลับน่าค้นหา ละลานตาไปด้วยสินค้าลิมิเต็ดเอดิชั่นหลากหลายชิ้น โดยรายได้ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายชิ้นงานและถุงผ้า จะมอบให้โครงการส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมร่วมสมัย และโครงการพัฒนาความรู้ศิลปะและการออกแบบเพื่อสร้างความเข้มแข็งชุมชนหัตถกรรม พร้อมกันนี้ยังมีกิจกรรมมิวสิกทัวร์ SIWILAI Tour

อ่านข่าวเพิ่มเติม : แบบบ้านปูนชั้นเดียว สไตล์บ้านพักตากอากาศ

แบบบ้านปูนชั้นเดียว สไตล์บ้านพักตากอากาศ

แบบบ้านปูนชั้นเดียว สไตล์บ้านพักตากอากาศ ให้อารมณ์ผ่อนคลาย บ้านดีไซน์ให้มีช่องลม พร้อมกับพื้นที่ใช้สอยครบครัน

สไตล์บ้านพักตากอากาศ

หลังคาเป็นกระเบื้องคอนกรีตแผ่นเรียบก่อทรงปั้นหยา ผสมผสานงานปูนกับงานไม้

บ้านหลังนี้มีความพิเศษที่มีครัว 2 แบบ ได้แก่ ครัวภายในตัวบ้าน และครัวโปร่งบริเวณระเบียงหลังบ้าน ไม่มีกำแพงบริเวณหลังบ้าน เหมาะสำหรับทำครัวไทยหรือปิ้งย่าง เป็นพื้นที่สังสรรค์เหมือนกับบ้านพักตากอากาศในต่างจังหวัด

แปลนบ้านหลังนี้ มีพื้นที่ใช้สอยรวม 149 ตร.ม. มีชายคายื่นออกมา 1 – 1.25 ม. ช่วยบังแดด ประกอบไปด้วย 2 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ ห้องรับแขก ห้องรับประทานอาหาร โถงกลางบ้าน ครัว ระเบียงด้านหน้าและด้านหลังบ้าน มีที่จอดรถสำหรับ 1 คัน

อัพเดทข่าว เพิ่มเติม : นศ.วิศวะม.อุบลฯเจ๋งออกแบบหัวลากรถเข็นไฟฟ้า”ปลอดภัยสูงต้นทุนต่ำ”

นศ.วิศวะม.อุบลฯเจ๋งออกแบบหัวลากรถเข็นไฟฟ้า”ปลอดภัยสูงต้นทุนต่ำ”

นศ.วิศวะม.อุบลฯเจ๋งออกแบบหัวลากรถเข็นไฟฟ้า”ปลอดภัยสูงต้นทุนต่ำ”

ออกแบบ

นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โชว์โครงงานก่อนสำเร็จการศึกษา ออกแบบนวัตกรรมหัวลากรถเข็นผู้พิการระบบไฟฟ้า ปลอดภัยสูง ต้นทุนการผลิตไม่เกิน 1.4 หมื่นบาท มุ่งช่วยเหลือและตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้
นายเชิดเกียรติ ไชยพันโท นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หัวหน้าทีม กล่าวว่า โครงงานออกแบบและสร้างหัวลากรถเข็นเพื่อคนพิการ ที่กลุ่มได้พัฒนาขึ้น แทงมวยสเต็ป2 นับเป็นนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในการช่วยเหลือผู้พิการ

ซึ่งปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้มีผู้พิการทางร่างกายจำนวนมาก หลายคนใช้รถวีลแชร์ในการอำนวยความสะดวก แม้ปัจจุบันจะมีการผลิตรถเข็นไฟฟ้า ออกมาจำหน่ายอย่างแพร่หลายก็ตาม แต่ราคาค่อนข้างสูง ผู้ป่วยไม่มีกำลังในการซื้อ

ดังนั้น กลุ่มนักศึกษาจึงเสนอโครงงานออกแบบนวัตกรรมหัวลากรถเข็นผู้พิการระบบไฟฟ้า หัวลากประกอบง่ายใช้เวลาไม่เกิน 2 นาที โดยกลไกลระบบคอล็อคออโต้ เพื่อยกล้อหน้ารถเข็น มีฮับมอเตอร์เป็นกลไกการเคลื่อนตัวส่งกำลังโดยตรง ไม่มีการทดกำลัง

ควบคุมเดินหน้า-ถอยหลัง โดยชุดกล่องคอนโทรล ระบบปรับความเร็วสูง – ความเร็วต่ำได้ ขับขี่ความเร็วสูงสุดที่ 40 กม./ชม. ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ความจุ 48V/15A สามารถขับเคลื่อนได้เป็นระยะทาง 32.8 กม.สะดวกสบายใช้งานง่ายไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม