6 วิธีรักษา “โรคเกาต์” โดยไม่ต้องใช้ยา

6 วิธีรักษา “โรคเกาต์” โดยไม่ต้องใช้ยา

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคทรวงอก แนะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มสามารถช่วยลดอาการข้ออักเสบที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเกาต์ได้

โรคเกาต์ คืออะไร?นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง มีผล มาจากการที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการตกผลึกของเกลือยูเรตบริเวณข้อและเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยผลึกดังกล่าวมีผลกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันทำให้เกิดกระบวนการอักเสบตามมา

  • ไขข้อข้องใจ กินอะไร? ทำไมถึงเป็น “โรคเกาต์”
  • จริงหรือไม่? กินไก่มาก เป็น “โรคเกาต์”

กลุ่มเสี่ยงโรคเกาต์

โดยส่วนมากโรคเกาต์มักจะพบได้มากในเพศชายอายุ 30 ปีขึ้นไป ส่วนเพศหญิงจะพบมากในช่วงวัยหลังหมดประจำเดือน

  • รู้หรือไม่? ดื่มนมวันละแก้ว ลดความเสี่ยงเป็นโรค “เกาต์”

ข่าวสุขภาพ

อาการของโรคเกาต์

อาการของโรคเกาต์สามารถปรากฏได้หลายรูปแบบ คือ ข้ออักเสบ มักจะมีอาการแบบเฉียบพลัน เริ่มแรกมักเป็นข้อเดียว โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดที่โคนข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า หรือข้อเข่า โดยมีอาการปวด บวมแดง ร้อน เจ็บเมื่อกด และอาจมีไข้ร่วมด้วย บางรายพบก้อนโทฟัส ซึ่งเกิดจากการสะสมของผลึกเกลือยูเรตในเนื้อเยื่ออ่อน ข้อต่อ กระดูก และกระดูกอ่อน มักพบบริเวณศอก ตาตุ่ม นิ้วมือ นิ้วเท้า ส่วนนิ่วในทางเดินปัสสาวะ พบประมาณร้อยละ 10-25 ของผู้ป่วยโรคเกาต์

วิธีรักษาโรคเกาต์

นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวทางการรักษาโรคเกาต์ควรใช้การรักษาโดยวิธีไม่ใช้ยาและใช้ยาร่วมกัน ซึ่งจะมีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง

6 วิธีรักษาโรคเกาต์ โดยไม่ต้องใช้ยา

การรักษาโดยวิธีไม่ใช้ยาสามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มร่วมกับการดูแลโรคร่วม และปัจจัยเสี่ยงของโรคเกาต์

  1. ขณะมีอาการข้ออักเสบกำเริบควรเลือกรับประทานโปรตีนจาก ไข่ เต้าหู้ นมและผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต่ำ
  2. ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ทุกชนิด รวมถึงอาหารที่มีพิวรีนสูง เช่น เครื่องในสัตว์ ไข่ปลา ยอดผักต่างๆ
  3. ลดการรับประทานผลไม้ที่มีรสหวานจัด น้ำผลไม้และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลฟรุกโตส เช่น ชาเขียวพร้อมดื่ม
  4. งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  5. ควรดื่มน้ำ อย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน
  6. หากท่านรับประทานอาหารชนิดใดแล้วมีอาการข้ออักเสบให้หลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้นๆ เพื่อป้องกันข้ออักเสบ

ติดตามข่าวสารต่างๆได้ที่นี่ >>> กรมอนามัย แนะ เริ่มต้นป้องกัน “โรคมะเร็ง”

กรมอนามัย แนะ เริ่มต้นป้องกัน “โรคมะเร็ง”

กรมอนามัย แนะ เริ่มต้นป้องกัน “โรคมะเร็ง” ด้วยตนเอง เพียงปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต และตรวจคัดกรอง

โรคมะเร็ง เป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งมาจาก “พฤติกรรมการใช้ชีวิต” ที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น การเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เป็นอีกหนึ่งวิธีการป้องกันโรคมะเร็งต้วยตนเองที่ดี

สุขภาพ

เลี่ยงการรับมลพิษ ฝุ่นควัน สารพิษ สารเคมี (เช่น บริเวณที่มีการเผาไหม้จากท่อไอเสียของเครื่องยนต์ ควันบุหรี่ การเผาขยะ เผาหญ้า เผาเชื้อเพลิงที่ใช้ในโรงงาน รวมถึงช่วงเวลาที่มีปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในอากาศสูง)
เลี่ยงการได้รับแสงแดดจัดหรือแสงแดดโดยตรง โดยไม่ได้รับการป้องกันนานเกินไป: เสี่ยงมะเร็งผิวหนัง เนื่องจากความร้อนสูงและรังสียูวีเป็นอันตรายต่อเซลล์ ควรป้องกันโดยเลี่ยงการตากแดดในเวลาแดดจัดนาน ทาครีมกันแดด สวมใส่เสื้อผ้า หรืออุปกรณ์กันแดดที่เหมาะสม
ตรวจสุขภาพ/คัดกรองมะเร็ง ช่วยป้องกัน-รักษามะเร็งได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
เราสามารถดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งด้วยตนเองได้ ด้วยการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และผู้ที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป หรือผู้ที่มีความเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็ง ได้แก่:

มะเร็งเต้านม: แนะนำให้ผู้หญิงตรวจคัดกรองโดยคลำเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ และการทำแมมโมแกรม (Mammogram)
มะเร็งปอด: แนะนำให้ประชาชนทั่วไป ผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี ที่สูบบุหรี่วันละประมาณ 1 ซอง มาเป็นระยะเวลาประมาณ 30 ปี หรือหยุดสูบบุหรี่ไม่เกิน 15 ปี คัดกรองโดยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอดรังสีปริมาณต่ำ
มะเร็งลำไส้ใหญ่: แนะนำให้ประชาชนทั่วไป ผู้มีอายุตั้งแต่ 45 – 50 ปี คัดกรองโดยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ หรือการตรวจเลือดคัดกรองมะเร็ง เป็นต้น
มะเร็งต่อมลูกหมาก: แนะนำให้ผู้ชายอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป คัดกรองโดยการตรวจเลือด ดูค่ามะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
มะเร็งตับ: แนะนำให้ประชาชนทั่วไป ผู้ที่มีภาวะตับอักเสบหรือคนที่มีเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ บี ตรวจคัดกรองโดยการอัลตราซาวด์ท้องช่วงบน และการตรวจค่ามะเร็งตับ (AFP)
มะเร็งช่องปาก: แนะนำให้ประชาชนทั่วไป ตรวจสุขภาพฟันและช่องปากอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อดูแลเหงือก ฟัน และความผิดปกติในช่องปาก หรือสังเกตรอยโรคด้วยตนเอง เป็นต้น
เริ่มต้นป้องกัน “โรคมะเร็ง” ด้วยตนเอง

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม คลิ๊กเลย >> โรคลีเจียนแนร์ “ไม่ใช่โรคใหม่” สามารถพบได้ประปราย

โรคลีเจียนแนร์ “ไม่ใช่โรคใหม่” สามารถพบได้ประปราย

โรคลีเจียนแนร์ “ไม่ใช่โรคใหม่” สามารถพบได้ประปราย ผ่านการหายใจรับเชื้อแบคทีเรีย Legionella Pneumophila ในวงจำกัด

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงรายงานข่าวจากประเทศอาร์เจนตินาที่มีรายงานการระบาดของโรคลีเจียนแนร์ ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ พบว่า มีผู้ป่วยที่มีอาการปอดอักเสบ 11 ราย เป็นบุคลากรทางการแพทย์ 8 ราย และผู้ป่วย 3 ราย ระบาดในสถานพยาบาลแห่งหนึ่ง และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย ซึ่งต่อมาผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อแบคทีเรีย Legionella Pneumophila เป็นเชื้อก่อโรคลีเจียนแนร์ (Legionnaires’ Disease) พบได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอุณหภูมิ 32 – 45 องศาเซลเซียส

สุขภาพ

โรคลีเจียนแนร์ ไม่ใช่โรคใหม่ ในประเทศไทย

สถานการณ์โรคลีเจียนแนร์ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2556 – ปัจจุบัน พบผู้ป่วยสะสม 131 ราย เสียชีวิต 1 รายในปี 2563 พบผู้ป่วยรายล่าสุดเมื่อปี 2564 อายุเฉลี่ย 62 ปี (อายุต่ำสุด 23 ปี และอายุสูงสุด 85 ปี) ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชายวัยกลางคนถึงสูงอายุ และเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย

โรคลีเจียนแนร์ สามารถติดต่อได้อย่างไร

การติดต่อ-รับเชื้อ เกิดจากการหายใจเอาละอองฝอยของเหลว หรือละอองฝอยของน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เช่น น้ำจากหอหล่อเย็น (Cooling Towers) ของระบบปรับอากาศ น้ำฝักบัวอาบน้ำ อ่างน้ำวน เครื่องช่วยหายใจ และน้ำพุประดับอาคาร สถานที่ต่าง ๆ รวมถึงสำลักน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง หรือผู้สูบบุหรี่หนัก ทั้งนี้ยังไม่เคยพบการแพร่เชื้อจากคนสู่คน

โรคลีเจียนแนร์ มีอาการอย่างไร

อาการป่วยของโรคนี้จะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ อาการเบาไปจนถึงอาการหนัก โดยอาการเบาจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ไอ คลื่นไส้อาเจียน เรียกว่า โรคไข้ปอนเตียก (Pontiac Fever) แต่หากติดเชื้อลงไปที่ปอด ทำให้ปอดอักเสบ มีไข้สูง ไอ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย และอาจเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิต จะเรียกว่าโรคลีเจียนแนร์

โรคลีเจียนแนร์ ป้องกัน-รักษาได้อย่างไร

โรคลีเจียนแนร์ไม่ได้เกิดขึ้นได้ง่าย การแพร่ระบาดมักอยู่ในวงจำกัดเฉพาะผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน ทุกหน่วยงานหรือสถานประกอบการที่พักนักท่องเที่ยวจึงควรจัดการระบบคลอรีนในน้ำประปา ตรวจสอบระบบน้ำร้อนรวม ระบบปรับอากาศ อุปกรณ์ในห้องน้ำ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ทำความสะอาดสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์น้ำอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการแสดงที่บ่งบอกว่า อาจเป็นสัญญาณของโรคลีเจียนแนร์ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษา หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจเกิดระบบทางเดินหายใจล้มเหลวได้